ประวัติความเป็นมา โครงการชลประทานน้ำเชิญ จ.ขอนแก่น เป็นโครงการตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 23 ก.พ. 2520 เนื่องจากราษฎร ต.ชุมแพ อ.ชุมแพ ได้ทูลทวายหนังสือเพื่อกราบบังคมทูลขอพระราชทานสร้างเขื่อนทดน้ำถาวรแทนฝายเดิมพร้อมก่อสร้างคลองชลประทาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริให้กรมชลประทานพิจารณาช่วยเหลือเป็นการด่วน กรมชลประทานจึงได้พิจารณาวางโครงการเป็นเขื่อนทดน้ำคอนกรีตเสริมเหล็กขึ้น เมื่อวางโครงการเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงได้กราบบังคมทูลเพื่อทรงทราบ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จไปทอดพระเนตรบริเวณที่จะสร้างเขื่อนทดน้ำ เมื่อวันที่ 1 พ.ค. 2520 และมีพระราชดำรัสให้กรมชลประทานก่อสร้างให้แล้วเสร็จโดยด่วน กรมชลประทานได้เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 1 มิ.ย. 2520 และแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 6 เม.ย. 2522 มีระบบส่งน้ำสายใหญ่ 2 สาย คือ ฝั่งขวายาว 0+630 กม. และฝั่งซ้ายยาว 0+996 กม. สามารถส่งน้ำให้พื้นที่การเกษตรของสมาชิกกลุ่มสหกรณ์น้ำเชิญ ในฤดูฝน 20,000 ไร่ และฤดูแล้ง 15,000 ไร่ ระบบส่งน้ำในส่วนที่ต่อจากคลองส่งน้ำของกรมชลประทานนั้นเดิมเป็นของกรมส่งเสริม สหกรณ์ ซึ่งกรมส่งเสริมสหกรณ์ไม่มีงบประมาณในการดำเนินการและมอบให้กรมชลประทานเมื่อวันที่ 11 มี.ค. 2540 เพื่อดำเนินการปรับปรุงระบบชลประทานทั้งโครงการต่อไป ลำน้ำเชิญมีต้นน้ำจากเทือกเขาในบริเวณอุทยานแห่งชาติน้ำหนาวด้าน อ.หล่มเก่า จ.เพชรบูรณ์ ไหลลงทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ผ่าน อ.คอนสาน อ.ชุมแพ ไปบรรจบกับลำน้ำพรมที่ อ.หนองเรือ จ.ขอนแก่น แล้วไหลลงอ่างเก็บน้ำอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น รวมความยาวของลำน้ำตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงขอบอ่างฯอุบลรัตน์ ประมาณ 180 กม. ลุ่มน้ำเชิญ ได้รับฝนจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้น้อย เพราะมีทิวเขาสูงกั้นเป็นแนวแบ่งเขตจังหวัดเพชรบูรณ์และจังหวัดชัยภูมิ พื้นที่แถบนี้ส่วนใหญ่จึงมักจะขาดแคลนน้ำสำหรับการเพาะปลูกในตอนต้นฤดูอยู่เสมอ บางครั้งช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนตุลาคม เกิดฝนตกหนักเนื่องมาจากพายุโซนร้อนและพายุดีเปรสชั่น จนทำให้เกิดอุทกภัยเป็นเหตุให้การเพาะปลูกบริเวณสองฝั่งลำน้ำได้รับความเสียหาย ปัจจุบันสภาพน้ำในลำน้ำเชิญ ได้รับน้ำเพิ่มเติมจากอ่างเก็บน้ำจุฬาภรณ์ซึ่งสร้างกั้นลำน้ำพรม โดยน้ำที่ใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าจะถูกส่งมาตามท่อส่งน้ำซึ่งวางตัดผ่านสันเขาไปสู่ลำห้วยสาขาไหลลงลำน้ำเชิญตลอดเวลา น้ำจำนวนนี้สามารถนำไปใช้ในการเกษตรได้ตลอดปี 1. สถานที่ตั้ง 2. ระยะเวลาก่อสร้าง 23 มีนาคม 2562 |
ประวัติ โบราณสถานธาตุกุดแห่น้อย หมู่ที่ ๒ บ้านนาดอกไม้ ตำบลชุมแพ อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น ประกอบไปด้วยฐานสิน(พระอุโบสถ) ก่อด้วยอิฐสอดิน ขนาดกว้าง ๙ เมตร ยาว ๑๑ เมตร หันหน้าไปทางทิศตะวันตก ผนังด้านหลังทึบ ส่วนผนังอีก ๓ ด้านเหลือร่องรอยเฉพาะส่วนฐานเท่านั้น สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นสิมโปร่ง คือมีผนังทึบด้านหลัง และเปิดโล่งบริเวณด้านหน้า ภายในสิมมีเสาไม้รองรับโครงสร้างหลังคาที่ทำจากไม้ ด้านในสุดของฐานอาคารเป็นที่ประดิษฐานของธาตุ (เจดีย์) ซึ่งชาวบ้านเรียกว่าธาตุกุดแห่น้อย องค์ธาตุก่ออิฐสอดินถือปูน อยู่ในแผนผัง รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส โดยมีการก่อขยายมุขด้านทิศตะวันตกและทิศใต้เพิ่มเติมในสมัยหลัง ปัจจุบันองค์ธาตุอยู่ในสภาพชำรุดคงเหลือแต่เพียงส่วนฐานเท่านั้นโบราณสถานแห่งนี้กำหนดอายุราวพุทธศตะวรรษที่ ๒๒-๒๔ สมัยวัฒนธรรมล้านช้าง 23 มีนาคม 2562 |
ตั้งอยู่บ้านโนนเมือง หมู่ที่ 4 ตำบลชุมแพ โนนเมืองเป็นเมืองโบราณที่มีคูน้ำคันดินล้อมรอบ 2 ชั้น เมืองชั้นในรูปทรงค่อนข้างกลม มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 420 เมตร เมืองชั้นนอกทรงยาวรี มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 600 เมตร หรือมีเนื้อที่ประมาณ 216 ไร่ เป็นเมืองโบราณสมัยทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 12 – 16) ในปี พ.ศ. 2513 หน่วยศิลปากรที่ 7 ได้สำรวจพบเป็นครั้งแรก ต่อมาได้ดำเนินการขุดตรวจ ขุดค้นพบโครงกระดูกมนุษย์ (อายุประมาณ 2,500-2,000 ปี) ภาชนะดินเผา เครื่องประดับ เครื่องใช้ กระดูกสัตว์ จำนวน 13 หลุม จึงได้ทำหลังคาคลุมไว้ เพื่อแสดงในลักษณะพิพิธภัณฑ์สถานกลางแจ้ง ให้ผู้สนใจได้เข้าชม อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอชุมแพ ไปทางชุมชนนาโพธิ์ (ผ่านโรงเรียนชุมชนชุมแพ) – บ้านโนนเมือง ประมาณ 5 กิโลเมตร หรือไปทางชุมชนพรานราษฎร์-บ้านโนนเมือง ประมาณ 5 กิโลเมตร (สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติที่ 7 ขอนแก่น โทรศัพท์ 0-4324-2129, 0-4333-7629 ได้รับงบประมาณปรับปรุงจากปี 2546-2549 ประมาณ 30 ล้านบาท 23 มีนาคม 2562 |
จังหวัด: ขอนแก่น ชื่ออื่น: วัดพระนอนพัฒนาราม, วัดพระนอน ที่ตั้ง: ม.4 บ้านโนนเมือง ต.ชุมแพ อ.ชุมแพ พิกัด: 16.517344 N, 102.089585 E เขตลุ่มน้ำหลัก: เชิญ เขตลุ่มน้ำรอง: ห้วยกุดตาไห เส้นทางเข้าสู่แหล่ง: เมืองโบราณโนนเมืองตั้งอยู่ทางทิศใต้ของตัวอำเภอชุมแพ จากที่ว่าการอำเภอชุมแพ ใช้ถนนประเสริฐวงศ์มุ่งหน้าลงทางทิศใต้ (มุ่งหน้าศาลเจ้าพ่อหลักเมืองชุมแพ) ประมาณ 600 เมตร พบสี่แยก (ก่อถึงศาลเจ้าพ่อหลักเมือง) ให้เลี้ยวซ้ายถนนตลาดชัย ประมาณ 290 เมตร พบสามแยกให้เลี้ยวขวาใช้ถนนสำราญวารี ประมาณ 2.6 กิโลเมตร พบสามแยกให้เลี้ยวขวาไปประมาณ 70 เมตร พบสี่แยกให้เลี้ยวขวา (หากเลี้ยวซ้ายจะเข้าสู่เมืองโบราณโนนเมือง) ไปตามถนนอีกประมาณ 700 เมตร จะพบวัดป่าพระนอนพัฒนารามทางซ้ายมือ รายละเอียดทางการท่องเที่ยว: พระนอนและเสมาหินทรายภายในวัดป่าพระนอนพัฒนารามได้รับการสักการะและดูแลรักษาเป็นอย่างดีจากชาวบ้านและท้องถิ่น ทั้งยังมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับเมืองโบราณโนนเมือง ซึ่งเป็นแหล่งประวัติศาสตร์และแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของชุมชนชาวบ้านทั้งในและต่างพื้นที่ให้การเคารพสักการะพระนอนเป็นอย่างมาก ชาวบ้านนิยมมาขอพรและบนบาน โดยชาวบ้านเชื่อว่าพระนอนไม่โปรดของคาว ต้องถวายของหวานและผลไม้เท่านั้น โดยเฉพาะลอดช่องและสาคูทุกวันที่ 20 เมษายนของทุกปีมีการจัดงานสรงน้ำพระนอน นอกจากนี้ พื้นที่ภายในวัดยังเป็นสถานที่จัดกิจกรรมงานบุญประเพณีอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม มีการประกวดการละเล่นวัฒนธรรมพื้นบ้าน และใช้ประกอบพิธีทางศาสนาเป็นประจำอย่างต่อเนื่องผู้สนใจสามารถเข้าสักการะและเยี่ยมชมพระนอน รวมถึงเสมาหินทรายภายในวัดป่าพระนอนพัฒนารามได้ทุกวัน โดยไม่เสียค่าเข้าชม หน่วยงานที่ดูแลรักษา: วัดป่าพระนอนพัฒนาราม, กรมศิลปากร 23 มีนาคม 2562 |
ขณะนี้คุณอยู่ที่หน้า 1 / 1 (4 รายการ)